กรุ๊ปเลือด ABO
กรุ๊ปเลือด (blood group) คือ การแบ่งชนิดของเลือดเป็นกลุ่มตามสารชนิดพิเศษ ซึ่งอยู่บนผิวของเม็ดเลือดแดง ที่เรียกว่า "แอนติเจน (Antigen)" กรุ๊ปเลือดของคนเราแบ่งได้หลายแบบเนื่องจากแอนติเจนมีหลายชนิด แต่ที่มีความสำคัญและใช้กันมากมีสองแบบ คืออ
1.กรุ๊ปเลือด ABO
2.กรุ๊ปเลือด Rh
กรุ๊ปเลือด ABO
กรุ๊ปเลือด ABO เป็นที่รู้จักกันดีอยู่แล้ว การแบ่งกรุ๊ปเลือดแบบ ABO นี้จะแยกได้เป็น 4 กลุ่ม คือ A,B,AB และ O โดยดูจากชนิดของ Antigen บนผิวเม็ดเลือดแดงว่า เป็นแอนติเจน A หรือ B หรือ มีทั้ง A และ B หรือไม่มีแอนติเจนเลย ส่วนแอนติบอดี้ซึ่งเป็นภูมิต้านทานต่อแอนติเจนจะเป็นชนิดตรงกันข้ามกับแอนติเจนที่มีอยู่บนผิวเม็ดเลือดแดง
อันที่จริงแล้ว ประโยชน์หลักที่ได้จากการตรวจกรุป๊เลือด ABO จะอยู่ที่ช่วงหลังคลอดมากกว่า คือ ถ้าลูกเกิดอาการเหลืองขึ้นภายหลังคลอด อาจเป็นภาวะที่เกิดจากการที่กรุ๊ปเลือด ABO ของแม่กับลูกไม่เข้ากัน (ABO incompatibility) โดยจะพบในคุณแม่ที่มีเลือดกรุ๊ป O แต่ลูกมีเลือดกรุ๊ปอื่น ดังนั้น แอนติบอดี้ที่มีในกระแสเลือดแม่ จะผ่านไปยังลูกและเกิดการทำลายเม็ดเลือดแดงของลูก เป็นสาเหตุของอาการตัวเหลืองในทารกแรกเกิดได้
1.กรุ๊ปเลือด ABO
2.กรุ๊ปเลือด Rh
กรุ๊ปเลือด ABO
กรุ๊ปเลือด ABO เป็นที่รู้จักกันดีอยู่แล้ว การแบ่งกรุ๊ปเลือดแบบ ABO นี้จะแยกได้เป็น 4 กลุ่ม คือ A,B,AB และ O โดยดูจากชนิดของ Antigen บนผิวเม็ดเลือดแดงว่า เป็นแอนติเจน A หรือ B หรือ มีทั้ง A และ B หรือไม่มีแอนติเจนเลย ส่วนแอนติบอดี้ซึ่งเป็นภูมิต้านทานต่อแอนติเจนจะเป็นชนิดตรงกันข้ามกับแอนติเจนที่มีอยู่บนผิวเม็ดเลือดแดง
อันที่จริงแล้ว ประโยชน์หลักที่ได้จากการตรวจกรุป๊เลือด ABO จะอยู่ที่ช่วงหลังคลอดมากกว่า คือ ถ้าลูกเกิดอาการเหลืองขึ้นภายหลังคลอด อาจเป็นภาวะที่เกิดจากการที่กรุ๊ปเลือด ABO ของแม่กับลูกไม่เข้ากัน (ABO incompatibility) โดยจะพบในคุณแม่ที่มีเลือดกรุ๊ป O แต่ลูกมีเลือดกรุ๊ปอื่น ดังนั้น แอนติบอดี้ที่มีในกระแสเลือดแม่ จะผ่านไปยังลูกและเกิดการทำลายเม็ดเลือดแดงของลูก เป็นสาเหตุของอาการตัวเหลืองในทารกแรกเกิดได้
หลักการให้เลือด
ถ้าเรียนวิทยาศาสตร์ มาสมัยมัธยม จะมีหลักว่าเลือดของผู้ให้ จะต้องไม่มี Antigen ที่ผู้รับ มี Antibody นั้นดังนั้น คนหมู่เลือด O ซึ่งไม่มี Antigen และAntibody สามารถให้เลือดได้ทุกหมู่เลือด แต่จะสามารถรับได้เฉพาะหมู่เลือด Oเท่านั้น ส่วนคนที่มีหมู่เลือด AB ไม่ควรให้เลือดแก่หมู่อื่นทั้ง A, B และ O เพราะมี Antigen ทั้งA, B ถ้าให้แก่ผู้รับอาจจะเกิดการตกตะกอนของเลือดได้ แต่หมู่AB สามารถรับเลือดได้ทุกหมู่
แต่ในความเป็นจริง เวลาแพทย์จะให้เลือด จะต้องตรงหมู่กันเท่านั้น (ยกเว้นกรณีฉุกเฉินจำเป็นจริงๆ เท่านั้นจึงเลือกใช้เลือดอย่างที่บอกไว้ข้างบน) เนื่องจากถ้าถ้าเป็นเลือดต่างหมู่ อาจจะทำปฏิกิริยากัน ทำให้เกิดการแตกของเม็ดเลือดได้
ยกตัวอย่างเช่น คนเลือด หมู่ AB รับเลือด หมู่ A มา แม้ว่า ตัวเองไม่มี Antibody A ไปทำลายเม็ดเลือดที่รับมา แต่ในน้ำเลือดคนให้มา จะมี Antibody B ซึ่งจะปฏิกิริยากับ Antigen ของตัวเองได้แม้แต่เลือดหมู่เดียวกัน ก็ยังมีโอกาส เป็นได้เช่นกัน แต่น้อยกว่า ดังนั้นก่อนให้เลือด จึงต้องเอาเลือดทั้งสองฝ่าย มาตรวจสอบความเข้ากันได้ก่อน (Group matched) ดังนั้นคนที่เลือดหมู่ AB ซึ่งน่าจะดี ที่รับเลือดได้ทุกหมู่ กลับหาเลือดยากเนื่องจาก เลือดหมู่นี้มีอยู่ไม่ถึง 5 % ของประชา กรทั้งหมด เวลาต้องหาหมู่เดียวกันตอนให้เลือด จึงหายากหน่อย ไม่ดีดั่งที่คิด
พ่อ แม่หมู่เลือดใด จะมีลูก ที่มีเลือดหมู่ใดได้บ้าง
ให้นึกภาพว่ายีน ของคนนั้นจะมีสองอันประกบกันเป็นคู่ อันนึงได้จากแม่ อีกอันได้จากพ่อ และจะแยกตัว ออกเป็นสองข้าง ในเซลล์สืบพันธ์ เพื่อไปจับคู่กับอีกครึ่งหนึ่งของฝ่ายตรงข้าม
ลักษณะของยีน ในหมู่เลือดต่างๆ (โดยยีนนั้นเป็นตัวกำหนดให้ร่างกายสร้าง Antigen นั้นๆบนผิวเม็ดเลือดแดง)
Group A = มียีน AO หรือ AA
Group B = มียีน BO หรือ BB
Group AB = มียีนAB
Group O = มียีน OO