^0^ยินดีต้อนรับสู่บล็อกการเรียนการสอนวิชาชีววิทยา จ้า^0^

วันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

กรุ๊ปเลือด ABO

         กรุ๊ปเลือด (blood group) คือ การแบ่งชนิดของเลือดเป็นกลุ่มตามสารชนิดพิเศษ ซึ่งอยู่บนผิวของเม็ดเลือดแดง ที่เรียกว่า "แอนติเจน (Antigen)" กรุ๊ปเลือดของคนเราแบ่งได้หลายแบบเนื่องจากแอนติเจนมีหลายชนิด แต่ที่มีความสำคัญและใช้กันมากมีสองแบบ คืออ
         1.กรุ๊ปเลือด ABO
         2.กรุ๊ปเลือด Rh

กรุ๊ปเลือด ABO
        กรุ๊ปเลือด ABO เป็นที่รู้จักกันดีอยู่แล้ว การแบ่งกรุ๊ปเลือดแบบ ABO นี้จะแยกได้เป็น 4 กลุ่ม คือ A,B,AB และ O โดยดูจากชนิดของ Antigen บนผิวเม็ดเลือดแดงว่า เป็นแอนติเจน A หรือ B หรือ มีทั้ง A และ B หรือไม่มีแอนติเจนเลย ส่วนแอนติบอดี้ซึ่งเป็นภูมิต้านทานต่อแอนติเจนจะเป็นชนิดตรงกันข้ามกับแอนติเจนที่มีอยู่บนผิวเม็ดเลือดแดง
         อันที่จริงแล้ว ประโยชน์หลักที่ได้จากการตรวจกรุป๊เลือด ABO จะอยู่ที่ช่วงหลังคลอดมากกว่า คือ ถ้าลูกเกิดอาการเหลืองขึ้นภายหลังคลอด อาจเป็นภาวะที่เกิดจากการที่กรุ๊ปเลือด ABO ของแม่กับลูกไม่เข้ากัน (ABO incompatibility) โดยจะพบในคุณแม่ที่มีเลือดกรุ๊ป O แต่ลูกมีเลือดกรุ๊ปอื่น ดังนั้น แอนติบอดี้ที่มีในกระแสเลือดแม่ จะผ่านไปยังลูกและเกิดการทำลายเม็ดเลือดแดงของลูก เป็นสาเหตุของอาการตัวเหลืองในทารกแรกเกิดได้


                

หลักการให้เลือด 
                       ถ้าเรียนวิทยาศาสตร์ มาสมัยมัธยม จะมีหลักว่าเลือดของผู้ให้ จะต้องไม่มี Antigen ที่ผู้รับ มี Antibody นั้นดังนั้น คนหมู่เลือด O ซึ่งไม่มี Antigen และAntibody สามารถให้เลือดได้ทุกหมู่เลือด แต่จะสามารถรับได้เฉพาะหมู่เลือด Oเท่านั้น ส่วนคนที่มีหมู่เลือด AB ไม่ควรให้เลือดแก่หมู่อื่นทั้ง A, B และ O เพราะมี Antigen ทั้งA, B ถ้าให้แก่ผู้รับอาจจะเกิดการตกตะกอนของเลือดได้ แต่หมู่AB สามารถรับเลือดได้ทุกหมู่ 

                      แต่ในความเป็นจริง เวลาแพทย์จะให้เลือด จะต้องตรงหมู่กันเท่านั้น (ยกเว้นกรณีฉุกเฉินจำเป็นจริงๆ เท่านั้นจึงเลือกใช้เลือดอย่างที่บอกไว้ข้างบน) เนื่องจากถ้าถ้าเป็นเลือดต่างหมู่ อาจจะทำปฏิกิริยากัน ทำให้เกิดการแตกของเม็ดเลือดได้ 

                     ยกตัวอย่างเช่น คนเลือด หมู่ AB รับเลือด หมู่ A มา แม้ว่า ตัวเองไม่มี Antibody A ไปทำลายเม็ดเลือดที่รับมา แต่ในน้ำเลือดคนให้มา จะมี Antibody B ซึ่งจะปฏิกิริยากับ Antigen ของตัวเองได้แม้แต่เลือดหมู่เดียวกัน ก็ยังมีโอกาส เป็นได้เช่นกัน แต่น้อยกว่า ดังนั้นก่อนให้เลือด จึงต้องเอาเลือดทั้งสองฝ่าย มาตรวจสอบความเข้ากันได้ก่อน (Group matched)   ดังนั้นคนที่เลือดหมู่ AB ซึ่งน่าจะดี ที่รับเลือดได้ทุกหมู่ กลับหาเลือดยากเนื่องจาก เลือดหมู่นี้มีอยู่ไม่ถึง 5 % ของประชา กรทั้งหมด เวลาต้องหาหมู่เดียวกันตอนให้เลือด จึงหายากหน่อย ไม่ดีดั่งที่คิด

           พ่อ แม่หมู่เลือดใด จะมีลูก ที่มีเลือดหมู่ใดได้บ้าง 

             ให้นึกภาพว่ายีน ของคนนั้นจะมีสองอันประกบกันเป็นคู่ อันนึงได้จากแม่ อีกอันได้จากพ่อ และจะแยกตัว ออกเป็นสองข้าง ในเซลล์สืบพันธ์ เพื่อไปจับคู่กับอีกครึ่งหนึ่งของฝ่ายตรงข้าม
              ลักษณะของยีน ในหมู่เลือดต่างๆ (โดยยีนนั้นเป็นตัวกำหนดให้ร่างกายสร้าง Antigen นั้นๆบนผิวเม็ดเลือดแดง)
        Group A = มียีน AO หรือ AA
        Group B = มียีน BO หรือ BB
        Group AB = มียีนAB
        Group O = มียีน OO


ระบบหนุมเวียดโลหิต

การหมุนเวียนของเลือด
            อาหารที่เรากินเข้าไปเมื่อผ่านกระบวนการย่อยอาหารจะได้อนุภาคที่เล็กที่สุดซึ่งสามารถแพร่ผ่านเข้าสู่ผนังของลำไส้เล็กได้ จากนั้นจะแพร่เข้าสู่หลอดเลือด แล้วถูกนําไปยังส่วนต่างๆของร่างกายโดนระบบหมุนเวียนของเลือด เชนเดียวกับกาซออกซิเจนที่เมื่อถูกนำเข้าสู่ร่างกายแล้วจะถูกนําไปยังเซลล์ต่างๆของร่างกายโดยเม็ดเลือดแดง และก๊าซคาร์บอนไดออกไซดที่เกิดจากกระบวนการหายใจ จะถูกลําเลียงออกจากเซลล์ทางพลาสมา ซึ่งการหมุนเวียนของเลือดและการหมุนเวียนของก๊าซจะเกิดควบคู่กันไป
ในระบบหมุนเวียนเลือดประกอบด้วย เลือด หลอดเลือด และ หัวใจ
หัวใจ
หัวใจของมนุษย์มีขนาดเท่ากับกำปั้นที่กำแน่นของผู้ที่เป็นเจ้าของ
การไหลเวียนของเลือด
การไหลเวียนของเลือด
   หัวใจ (heart) ทําหน้าที่สูบฉีดเลือดให้ไหลไปตามหลอดเลือดไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย แล้วไหลกลับคืนสูหัวใจ หัวใจประกอบด้วยกล้าเนื้อพิเศษที่เรียกว่า กล้ามเนื้อหัวใจ แบ่งห้องออกเป็นห้องบน (atrium) 2 ห้อง และห้องล่าง (ventricle) 2ห้อง หัวใจห้องบนจะเล็กกว่าห้องล่าง ระหว่าง หัวใจห้องบนและห้องล่างจะมีลิ้นกั้นเพื่อป้องกันไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับ หัวใจห้องล่างซ้ายจะมี ผนังหนาที่สุด เพราะหัวใจห้องล่างซ้ายมีหน้าที่สูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย
heart (หัวใจ)
heart (หัวใจ)

ชีววิทยา

                                                           ชีววิทยา

             ชีววิทยา เป็นการศึกษาในทุกๆแง่มุม (Biological Sciences) ของสิ่งมีชีวิต โดยคำว่า ชีววิทยา (Biology) มาจากภาษากรีก จากคำว่า " Bios "& "Logos" ซึ่งคำว่า "bios" แปลว่า สิ่งมีชีวิต และ "logos"แปลว่า วิชา หรือการศึกษาอย่างมีเหตุผล   ชีววิทยาซึ่งถือเป็นการศึกษาหลักที่แยกย่อยไปเป็นวิชาทางชีวภาพอื่นๆมากมาย  ไม่ชีววิทยาเป็นสาขาวิชาที่ใหญ่มากจนไม่ อาจศึกษาเป็นสาขาเดียวได้  จึงต้องแยกออกเป็นสาขาย่อยต่างๆ  ในหัวข้อนี้จะแบ่งสาขาย่อยออกเป็น  4  กลุ่ม  กลุ่มที่หนึ่ง    เป็นสาขาที่ศึกษาโครงสร้างพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต  อย่างเช่นเซลล์  ยีน  เป็นต้น กลุ่มที่สองศึกษาการทำงานของโครงสร้าง ต่างๆ ตั้งแต่ระดับเนื้อเยื่อ ระดับอวัยวะ จนถึงระดับร่างกาย กลุ่มที่สามศึกษาประวัติศาสตร์ของสิ่งมีชีวิต กลุ่มที่สี่ศึกษาความสัมพันธ์ในระหว่างสิ่งมีชีวิต  อย่างไรก็ตาม  การแบ่งกลุ่มนี้เป็นเพียงการจัดหมวดหมู่ให้สาขาต่างๆในชีววิทยาให้เป็นระเบียบ  และเข้าใจง่าย แต่ความจริงแล้ว  ขอบเขตของสาขาต่างๆนั้นไม่แน่นอน  และสาขาวิชาส่วนใหญ่ก็จำเป็นต้องใช้ความรู้จากสาขาอื่นด้วย ตัวอย่างเช่น สาขาชีววิทยาของวิวัฒนาการ ต้องใช้ความรู้จากสาขาอณูวิทยา เพื่อจัดลำดับของดีเอ็นเอ ซึ่งจะช่วยให้เข้าใจความแปรผันทางพันธุกรรมของประชากร  หรือสาขาวิชาสรีรวิทยา ต้องใช้ความรู้จากสาขาชีววิทยาของเซลล์  เพื่ออธิบายการทำงานของระบบอวัยวะ